ทัศนคติเกี่ยวกับความพิการ

ทัศนคติเกี่ยวกับความพิการ – ผู้พิการ

B8785611-0

โดยปกติสังคมและตัวคนพิการเอง จะมองความพิการเป็น 2 แบบ
แบบแรกมองว่าความพิการเป็นเวรเป็นกรรมน่าสงสาร และควรจะได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลืออย่างเดียว
แบบที่สองมองคนพิการเป็นทรัพยากรสำคัญ เป็นมนุษย์คนหนึ่งของสังคมที่เราต้องลงทุนเพื่อพัฒนาให้มีศักยภาพ ปัจจุบันนี้ยังมีการมองแบบแรกกันเป็นส่วนใหญ่ หน้าที่ต่อไปของทุกภาคส่วนรวมทั้งคนพิการเองด้วยที่จะต้องปรับมุมมองจากแบบที่หนึ่งมาเป็นแบบที่สองมากขึ้น ไม่ได้หมายความว่าแบบใดแบบหนึ่งถูกหรือผิด เพราะยังมีคนพิการซ้ำซ้อน(คือพิการหลายประเภทในตัว) ก็ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ แต่คนพิการจำนวนมากหรือส่วนใหญ่ด้วยซ้ำในสังคมไทยที่มีศักยภาพต้องรับการพัฒนา เป็นทุนในการพัฒนา
มุมมองแบบที่สองถือว่าคนพิการเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของชาติบ้านเมืองไม่ควรมองข้าม ทุกฝ่ายต้องช่วยกันพัฒนา ดังที่เรียกว่า “การฟื้นฟูสรรถภาพคนพิการ” ให้ดีที่สุด (ไทยเรามีกฏหมายเรียกว่า พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 มี 20 มาตรา มีแจกให้แล้ว)
ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็นการลงทุนพัฒนาคนพิการย่อมได้รับค่าตอบแทนคุ้มค่า เพราะหนึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เขาต้องเป็นภาระของสังคม สองเขาจะกลับกลายเป็นพลเมืองที่มีศักยภาพ ทำงานเลี้ยงตัวเองได้ รัฐได้ภาษีจากคนเหล่านี้เพิ่มขึ้น สังคมที่ฉลาดย่อมส่งเสริมพัฒนาคนพิการให้เป็นพลังของสังคม ดังที่เรียกว่า “เปลี่ยนภาระเป็นสังคม”

การพัฒนาคนพิการ ทำได้โดย

tnews_1439460484_2469

1. คนพิการต้องพยายามพัฒนาตนเองก่อน
คนพิการต้องพยายามขวนขวาย กล้าเปิดเผยตัว มีกำลังใจต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น อดทนต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ดังคำขวัญที่ว่า “จะต่อสู้แม้พิการ จะกล้าหาญและอดทน จะเรียนและฝึกฝนจะพึ่งตน เพียรทำงาน”
ปัจจุบันสังคมมีความเข้าใจ ยอมรับ ยกย่อง สนับสนุนคนพิการมากขึ้น ให้โอกาสความเสมอภาค คนพิการจึงต้องปรับตัว ไม่ปล่อยให้ตนเองจมปลักอยู่กับความพิการ ต้องตระหนักว่าตนเองยังมีศักยภาพอยู่ มีสิทธิที่จะคิดฝัน ดังนี้ จึงอย่านิ่งดูดาย
โอกาสที่คนพิการได้มานั้นมิใช่รอให้คนอื่นหยิบยื่นมาให้สถานเดียว คนพิการต้องมีความขวนขวาย การที่จะให้สังคมเข้าใจและยอมรับคุณค่าของคนพิการ ต้องเริ่มต้นที่ตัวคนพิการเอง คือมีความมานะอดทน หมั่นสร้างผลงาน แสดงความสามารถที่มีอยู่ออกมาก่อน แล้วในที่สุดความแตกต่างของสภาพร่างกายก็มิใช่ปัญหาอุปสรรคหรือเป็นตัวชี้วัดคุณค่าของมนุษย์อีกต่อไป

original-1457156446315
2. ครอบครัวต้องสนับสนุนกระตุ้นให้กำลังใจ
ให้ได้รับการพัฒนา ครอบครัวสำคัญที่สุดต่อการพัฒนาชีวิตของคนพิการ จึงต้องเข้าใจ ให้กำลังใจ ครอบครัวพึงรู้วิธีการเลี้ยงดูหรือพัฒนาคนพิการที่ถูกทาง สนใจเรื่องที่อยู่หลับนอน อาหารการกิน สิ่งอำนวยความสะดวก ส่งเสริมให้ได้เรียนหนังสือ ออกกำลังกาย ช่วยเหลือตนเอง พบปะผู้คนนอกบ้าน หากทำได้จะทำให้คนพิการปรับตัวได้รวดเร็ว ผู้ใดอยากให้ครอบครัวมีสุขก็อย่ามองข้ามคุณค่าของคนในครอบครัวของตนเอง
การทำครอบครัวมีความเข้าใจ ให้ความรัก ตระหนัก รับผิดชอบ ให้กำลังใจ ความอบอุ่น เป็นการส่งเสริมขวัญกำลังใจแก่คนพิการเสมือนยาขนานเอกที่จะทำให้คนพิการมีกำลังใจต่อสู้อย่างมั่นใจ มิสามารถหาอะไรมาเทียบเท่าได้ หากครอบครัวเต็มใจสนับสนุนย่อมเปิดโอกาสกว้างให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาต่อไป คนพิการจักสามารถพึ่งตนเองได้และไต่เต้าสู่โอกาสสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก

unnamed-331
3. สังคมต้องเสริมส่ง (ไม่ใช่ถีบส่ง)
สังคมรวมถึงภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาชน (อบต กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สาธารณสุข ครูอาจารย์ พระ กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ) ต้องยอมรับ ไม่รังเกียจ กีดกัน ให้สำคัญเรื่องสิทธิ โอกาส ความเสมอภาค การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สังคมต้องเข้าใจว่า “คุณค่าของมนุษย์ใช่สิ้นสุดที่ความพิการ” พร้อมที่จะไห้โอกาสเขาได้แสดงศักยภาพ ปัจจุบันสังคมไทยเข้าใจและเห็นความสำคัญคนพิการมากขึ้น ร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมคนพิการ เช่น การจัดงานวันคนพิการ รับคนพิการเข้าทำงาน การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ส่งเสริมอาชีพ สนับสนุนทุนการศึกษาต่อ
การที่สังคมเข้าใจให้โอกาสแก่คนพิการ โดยเฉพาะส่งเสริมให้มีอาชีพย่อมประเสริฐที่สุดทำให้เขามีรายได้ช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวหรือสังคมมากเกินไป เป็นการส่งเสริมให้คนพิการที่อยู่ในวัยแรงงานทั้งในเมืองและชนบทมีอาชีพ เป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงให้คนพิการพึ่งตนเองได้ในระยะยาว ทำให้การฟื้นฟูสมรรถภาพครบวงจรและตรงกับความต้องการของคนพิการมากที่สุด เป็นการให้แก่ผู้ด้อยโอกาสที่มีคุณค่ายิ่งทำให้ฝันของคนพิการเป็นจริงขึ้นมา